วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คิดจะบินร่มร่อน

หากสนใจ จะบิน ร่มร่อน สึ่งที่ต้องทราบคือ

ใคร เล่นร่มร่อน ได้บ้าง ?

ไม่มี ข้อจำกัด เนื่องจากสถิติ ที่ผ่านมา มีตั้งแต่ อายุ 10 ขวบ จนถึง 80 ปี
หากคุณรักธรรมชาติ ชื่นชมในสายลม และแสงแดด ไม่กลัวความสูง
ไม่มีโรคประจำตัว ที่ทำให้ขาดการควบคุมตนเอง เช่นโรคลมชัก
ใช้มือใช้เท้า ได้อย่างคนปกติ สามารถแบกของหนักประมาณ 15 กิโลได้
(ร่มหนักประมาณ 5-7 กิโล, ชุดที่นั่งก็ประมาณ 4 -10 กิโล)                                       
แต่ตอนบิน ไม่ต้องรับน้ำหนักใดฯ นะครับ  ตัวเบายังกับนกเลย


บิน ร่มร่อน อันตราย หรือเปล่า ?

กีฬาที่เกี่ยวข้องกับความเร็วหรือความสูงทุกชนิด
ย่อมเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ทั้งนั้น
แต่เรา ก็สามารถที่จะลดความเสี่ยง หรืออันตรายที่จะเกิดขึ้นได้
ด้วยการเรียนรู้ ฝึกฝน สร้างทักษะ และการตัดสินใจที่ถูกต้อง
ในการบินแต่ละครั้ง หลักความปลอดภัยต้องมาก่อนเสมอ

ในช่วงแรกฯ ต้องมีผู้รู้หรือมีประสบการณ์มากกว่า
คอยชี้แนะ ควบคุมดูแล อยู่เสมอ ก่อนออกบิน
เมื่อมีประสบการณ์มากขึ้น คุณก็สามารถที่ตัดสินใจได้เองว่า
คุณจะบินได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ โดยดูจาก สภาวะอากาศ
สภาพภูมิประเทศ ข้อจำกัดของอุปกรณ์ที่ใช้ ตลอดจนทักษะของคุณ                             
แต่ การไปบิน ร่มร่อน เป็นกลุ่ม จะสนุกและปลอดภัยกว่า

อุบัติเหตุ ส่วนใหญ่ ในการเล่น ร่มร่อน เกิดจากความประมาท และความไม่รู้
ตลอดจน มั่นใจเกินทักษะ เห็นคนอื่นทำ ก็อยากทำบ้าง

ควรเริ่ม การบิน ร่มรอน อย่างไร ?

ถ้ามีโอกาส ก็ควรลองบินร่มร่อน สองที่นั่ง กับผู้มีความสามารถบินสอนที่นั่ง(Tandem)ก่อน
หากชอบใจขึ้นมา ชีวิตของคุณ หลังจากนั้น ก็จะเต็มไปด้วยความสุข
สนุกสนาน เร้าใจ อย่างที่ไม่เคย คาดคิดมาก่อน
หรือหากลองบินแล้ว ไม่ชอบ อย่างน้อยในชีวิต ครั้งหนึ่ง คุณก็ยังมีโอกาสได้บินร่มร่อนละ

สถิติโลก ในการบิน ร่มร่อน


สถิติโลก ของการบินเดินทาง โดยร่มร่อน
ระยะทางที่ทำไว้สูงสุด คือ 502.9 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2008  โดย Nevil Hulett
บินด้วยร่ม Mac Para Magus 6 สถานที่บิน แอฟริกาใต้ เริ่มออกบินตั้งแต่ 11:31 โมงเช้า จนถึง 19:11 ใช้เวลาในการบินร่มร่อน  7 ชั่วโมงครึ่ง
ความเร็วโดยเฉลี่ย 73.3  กิโลเมตร/ชั่วโมง ความเร็วสูงสุด 126.7  กิโลเมตร/ชั่วโมง (บินร่มร่อนตามลม)


สถิติโลก ของการทำความสูง โดยการบินร่มร่อน
ทำไว้โดย Leroy Westerkamp นักบินชาวเนเธอร์แลนด์ ด้วยความสูง 7,686 เมตร  เทคอ็อฟ จาก เทือกเขา หิมาลัย ประเทศปากีสถาน ที่ความสูงประมาณ 2 พันเมตร
และบินขึ้นไปสูงจาก จุดเทคอ็อฟ 4,785 เมตร Leroy บินด้วยร่ม Skywalk Poison(DHV2-3)

สถิติโลก การบินเดินทาง ด้วยร่มร่อน 2ที่นั่ง
ทำไว้โดย Andre Fleury(นักบิน) และ Claudia Otilia (ผู้โดยสารหญิง) กับระยะทาง 313.84 km  ร่อน ด้วยความเร็วสูงสุด 88.21 km/h (ตามลม)
ความสูง สูงสุดที่ทำได้  3,038 เมตร ใช้เวลาร่อนทั้งหมด  9 ชั่วโมง 41 นาที  ร่มที่ใช้ คือ Sol Tracer Zircus ซึ่งเป็นร่มสองที่นั่ง ผลิตในบราซิล
มีสปีดสูงสุด ประมาณ 60 km/h  อัตราการร่อน ประมาณ 10:1  และ ซิ่งเรท 1 m/s

วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การดูสเป็ค ของ ร่มร่อน

การดู สเป็คของร่มครับ เพื่อรู้ถึง ค่าต่างๆที่อธิบายอยู่ในคู่มือของร่ม

Year -  ปีที่ผลิต (ออกแบบ)
ร่มรุ่นใหม่ๆ ย่อมดีกว่ารุ่นเก่าเป็นแน่นอน เพราะการออกแบบ การพัฒนา และวัสดุที่เลือกใช้ มีการปรับปรุงสูงขึ้น
ควรเลือกซื้อร่ม ทีมีการผลิต(ออกแบบ) ภายในสามปี หรือห้าปีล่าสุด เป็นอย่างมาก

Flat Area -  พื้นที่ปีกของร่ม(วัดขนาดผ้า เป็นตารางเมตร)  ค่านี้ จะใช้ในการบอกขนาดหรือไซส์ของร่ม
เช่น ไซส์  28 หมายถึงมีพื้นที่ปีก 28 ตารางเมตร

Flat Span - ความกว้างของร่ม โดนวัดระยะห่างระหว่างปลายปีกด้านซ้ายและขวา

Flat Ratio -  อัตราส่วนของความกว้างและพื้นที่ปีก โดยคิดจาก ความกว้างยกกำลังสอง หารด้วย พื้นที่ปีก
ค่า Ratio ของร่ม โดยปกติ จะอยู่ที่ 4-6 ร่มที่มีค่า Ratio สูง จะเป็นร่มที่เพรียว มีความว่องไว
และมีอัตราการยกที่สูง  ณ ปัจจุบันร่มแข่ง บางตัว มีค่า Ratio ถึง 8  ทำให้มี ความเร็ว และอัตราการร่อน ที่สูงมาก แต่ก็อันตรายเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

Project Area – พื้นที่เงาร่ม

Project Span - ความกว้างของเงาร่ม

Project Ratio - อัตราส่วน ความกว้างของเงากำลังสอง หารด้วย พื้นที่เงา

Flattening - เปอร์เซนต์ ของขนาดพื้นที่ผ้าร่ม ที่ลดลง เมื่อเป็นขนาดพื้นที่เงา
ร่มที่มีความโค้งของปีกเยอะ ก็จะมีค่า Flattening ที่มาก และทำให้ร่ม มีความเสถียรสูงขึ้น

Uper-Surface -  วัสดุ ที่ใช้ทำผ้าร่ม ชั้นบน
เป็นผ้าร่มที่มีความทนทาน ทำจาก ริปสต็อบ-ไนลอน ทนแสงยูวี ได้ดี  มี 2 ชนิดหลักๆ คือ Gelvenor silicone-coated จาก แอฟริกาใต้ และ Porcher Marine SKYTEX จากฝรั่งเศส
Gelvenor ที่ใช้อยู่ทั่วไป มี 2 แบบ คือ LCN 066 มีน้ำหนักประมาณ 55 กรัม/ตารางเมตร
และ LCN 0517  ขนาด 45 กรัม/ตารางเมตร
ส่วน Porcher  ก็นิยมใช้อยู่ 2 ขนาดเช่นกัน คือ SKYTEX  S9017 มีน้ำหนักประมาณ 40 กรัม/ตารางเมตร 
และ  SKYTEX  S9092 ขนาด 45 กรัม/ตารางเมตร

Under-Surface -  วัสดุ ที่ใช้ทำผ้าร่ม ชั้นล่าง  อาจเป็นแบบเดียวกับ ผ้าร่ม ชั้นบน
หรือใช้วัสดุที่มีความบางและน้ำหนักน้อยกว่าผ้าร่มชั้นบน เพื่อลดน้ำหนัก และทำให้การตั้งร่มง่ายขึ้น
ผ้าร่มชั้นล่าง จะเป็นส่วนที่ไม่ค่อยได้สัมผัสพื้น และโดนแสงยูวี เฉพาะตอนวางร่มก่อนเทคอ็อฟเท่านั้น

จากกราฟ ข้างบน เป็นการทดสอบผ้าร่มตัวใหม่ Skytext E85A เทียบกับผ้าร่มชนิดเก่า
โดยการนำผ้าร่มไปปั่น แล้ววัดค่าการไหลของอากาศ ที่ไหลผ่านผ้าร่ม หลังจากการปั่น ผ่านไปช่วงเวลาหนึ่ง
ผ้าร่มที่ดี จะต้องยอมให้อากาศไหลผ่านได้น้อยที่สุดแม้จะใช้ไปนาน นั้นก็คือยังอุ้มอากาศได้ดีอยู่

Lines - สายร่ม  ทำจาก เคฟล่า(อารามิด ไฟเบอร์) หรือ สเปคตร้า(ไดนีม่า) อาจมีปลอกหุ้มอีกที
โดยเปลือกหุ้มไม่ได้ช่วยเพิ่มความแข็งแรงแต่อย่างใด แต่เพื่อป้องกันสายจากการขัดสี และแสงยูวี
เปลือกหุ้มอาจทำเป็นสี แต่ละสี สำหรับสายแต่ละชุด  เพื่อง่ายแก่การสังเกต
เช่น A สีแดง B สีน้ำเงิน C สีเหลือง D สีเขียว
นอกจากนี้สายที่ใช้ ยังแบ่งออกเป็นหลายขนาด ตั้งแต่ 0.9 ถึง 2.1 มิลลิเมตร
สายชั้นล่างซึ่งมีจำนวนสายน้อย จะมีขนาดใหญ่สุด
ถัดขึ้นไปซึ่งมีจำนวนสายมากขึ้น ก็จะใช้สายขนาดเล็กลงตามลำดับ

Risers - มีกี่ไรเซอร์และแต่ละไรเซอร์มีกี่สาย  เช่น
4(3A/3B/4C/2D)  หมายถึงมี 4 ไรเซอร์ ชุดA มี3เส้น ชุดB มี3เส้น ชุดC มี4เส้น และ ชุดD มี2เส้น
5(2A+1A'/3B/4C/2D)  หมายถึงมี 5 ไรเซอร์ โดยแบ่งไรเซอร์ชุดA ออกเป็น Aใหญ่ 2 เส้น
และ Aเล็ก 1 เส้น สำหรับทำบิกเอียร์
การรับน้ำหนักของชุดไรเซอร์ แต่ละเส้น จะมีค่าไม่เท่ากัน โดยแบ่งเป็น
A: 36% ,  B: 36%  , C: 18%  , D: 10%
สาย A และ B ต้องสามารถ รับน้ำหนัก ได้มากกว่า 8 เท่าของน้ำหนักสูงสุด
เช่น ร่ม รับน้ำหนักได้สูงสุด 105 kg สายที่ไรเซอร์ A-B ต้องรับน้ำหนักได้ 105*8 = 840 kg
ฉนั้นเมื่อ  ไรเซอร์A มี3เส้น และ  ไรซอร์B มี3เส้น รวม 2 ด้าน เป็น 12 เส้น
สาย A หรือ B  1 เส้น ต้องสามารถ รับน้ำหนักได้อย่างน้อย  840/12 kg   =  70 kg
สำหรับ สาย C และ D ต้องสามารถ รับน้ำหนัก ได้มากกว่า 6 เท่าของน้ำหนักสูงสุด

ถ้าเป็นร่มระบบรีเฟล็ก(สำหรับบินพารามอเตอร์) จุดศูนย์ถ่วง จะย้ายมาอยู่ด้านหน้า
ทำให้ร่ม มีความเร็วสูงขึ้น และมีแรงต้านร่มพับมากขึ้น แต่ก็ทำให้ไรเซอร์ A รับน้ำหนักมากกว่าไรเซอร์อื่นๆด้วย
A: 68% ,  B: 12% , C: 12 % , D: 8%

Wing-Weight - น้ำหนักร่ม โดยบอกเป็นกิโลกรัม  น้ำหนักร่มปกติแล้ว จะอยู่ที่ 5-7 กิโลกรัม
ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนเซล จำนวนสาย และวัสดุ ที่ใช้ในการผลิตร่ม

Box-Cell-Closed  -  จำนวนจุดต่อสายร่ม-จำนวนเซลทั้งหมด-จำนวนเซลที่ปิด
หากมีจำนวนจุดต่อสายเยอะ ร่มก็จะมีการบาลานซ์น้ำหนักได้ดี มีความแข็งแรงขึ้น
แต่จะมีการต้านลม จากจำนวนสายที่มาก
จึงต้องนำสายมารวมกันเป็นจุดแล้วต่อด้วยสายเส้นที่ใหญ่เพียงเส้นเดียว เพื่อลดจำนวนสายลงมาเป็นชั้นๆ

Accelerator - ระยะความยาวของตัวเร่งความเร็ว หรือ สปีดบาร์

Trims – ทริมสำหรับเปิดปิด เพื่อเพิ่มลด มุมปะทะของร่ม อันมีผลต่อความเร็วและความเสถียรของร่ม

Naked-Pilot-Weight – น้ำหนักนักบินที่เหมาะสม


In-Flight-Weight (PTV) – น้ำหนักโดยรวมอุปกรณ์ทั้งหมดขณะบิน
โดยจะแบ่งเป็น Minimum(น้ำหนักต่ำสุด) และ Maximum(น้ำหนักสูงสุด)
หากนักบิน บินอยู่ในระหว่าง น้ำหนักต่ำสุด ถึง น้ำหนักสูงสุด ก็จะบินได้อย่างปลอดภัย
แต่ค่าน้ำหนักที่เหมาะสมที่สุด น่าจะอยู่ที่ ประมาณ สองในสาม ของช่วงน้ำหนัก
เช่น Minimum = 70 และ Maximum = 90
ค่าสองในสาม ของ 70 ถึง 90  =  70 + (90-70)*2/3   =  83.4 Kg
หากนักบิน บินต่ำกว่า Minimum ร่มก็จะเกิดการพับได้ง่าย หากอากาศไม่ดี
หรือลมมีความแปรปรวน เพราะน้ำหนักถ่วงมีน้อย
และหากนักบิน บินสูงกว่า Maximum
ร่มก็จะมีความเร็ว และอัตราการสูญเสียความสูงที่มากขึ้น
ถ้ามากเกินไป ก็ก่อให้เกิดอันตรายได้ง่ายเช่นกัน

Wing-Load  อัตราการรับน้ำหนักของร่ม ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร
โดยคำนวณจาก น้ำหนักต่ำสุด บวกน้ำหนักสูงสุด แล้วหารด้วย 2
จะได้น้ำหนักโดยเฉลี่ย จากนั้นหารด้วย จำนวนพื้นที่ผ้าร่ม

Acceler/Maximum/Minimum - ความเร็วของร่มตามสป็ต
Accelerator =  ความเร็วสูงสุดขณะเหยียบสปีดบาร์ และไม่มีการรั้งเบรค
Maximum  = ความเร็วขณะปล่อยสายคอนโทรล(ยังไม่เหยียบสปีดบาร์)
สำหรับร่ม DHV ต่ำ ซึ่งมีความปลอดภัยสูง การบินที่ Max Speed (ปล่อยมือ)จะบินได้อย่างปลอดภัย
แต่ถ้าเป็นร่ม DHV สูงๆ ต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น เพราะร่มอาจพับได้ง่าย
Minimum = ความเร็วต่ำสุด จากการทำให้ร่มช้าลง แล้วร่มยังไม่เข้าสภาวะสต็อล
หากดึงเบรคมากไปกว่านี้ ความเร็วจะต่ำกว่า ความเร็วสต็อล ทำให้ร่มสต็อลได้

Best-Sink-Rate
อัตราการสูญเสียความสูงที่ดีที่สุด
เช่น 1 เมตร ต่อ วินาที  หากเราบินอยู่ในเทอร์มอล ที่มีอัตราการยก 4 เมตร ต่อวินาที
เราก็สามารถเพิ่มความสูงจากพื้น ได้ถึง  4(ยก) - 1(ตก)  =  3 เมตร ต่อ วินาที

Best-Glide  ช่วงความเร็ว และ ซิงค์เรท  ที่ให้อัตราการร่อน หรือระยะเดินทาง ดีที่สุด
เช่น 1.2 m/s  > 39 km/h   หมายถึงบินที่ ความเร็ว 39 km/hr  
จะมีการสูญเสียความสูง 1.2 m/s แต่จะทำระยะทางได้ไกลสุด

Best Glide Ratio (L/D)
อัตราการ ร่อนที่ดีที่สุด โดยคิดเป็น อัตราส่วนของ ระยะทางที่เดินทางได้ กับความสูงที่สูญเสียไป
เช่น อัตราการร่อน เท่ากับ 10  หมายถึง  เดินทาง ไปได้ ระยะทาง 10 km จะสูญเสียระดับหรือความสูง 1 km


ณ. ปัจจุบัน ร่มรุ่นใหม่ๆ มีการพัฒนา ให้มีความปลอดภัยสูงขึ้น
พร้อมๆ กับประสิทธิภาพในการร่อน ที่สูงขึ้นด้วย

อย่าง เช่น Gradient Golden 2 หรือ  Nova Mamboo ซึ่งเป็นเพียงร่ม DHV 1-2
แต่กลับมีประสิทธิภาพในการร่อน สูงกว่า ร่ม DHV 2  หลายๆ ตัว

อุปกรณ์ ที่ใช้ในการบิน ร่มร่อน (ตอนที่ 2)

เครื่องวัดความสูง (Altimeter)
         เพื่อบอกว่าเราอยู่ที่ความสูงเท่าไร อาจวัดเป็นความสูงเทียบจากจุดที่เทคอ็อฟ หรือความสูงเหนือระดับน้ำทะเล การทำงานของ เครื่องวัดความสูง
จะทำงานโดยวัดจากความกดอากาศ ที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะเมื่อสูงขึ้นความกดอากาศจะลดลงเรื่อยๆ

เครื่องวัดอัตราการร่วงหล่น (Variometer)
         เพื่อบอกว่า เรา กำลังสูญเสียความสูง หรือ มีความสูงเพิ่มขึ้น โดยอาศัยความกดอากาศในการทำงานเช่นเดียวกับ เครื่องวัดความสูง  แต่จะแสดงออกมาเป็นเสียงให้เราได้ยิน
ถ้าเรากำลังสูญเสียความสูง ก็จะมีเสียงโทนหนึ่งดังขึ้นเพื่อบอกให้เรารีบบินออกไปจากบริเวณนี้  แต่ถ้าเข้าเขตลมยก หรือได้รับความสูงเพิ่มขึ้น ก็จะมีโทนเสียงอีกแบบหนึ่ง
ทำให้เรารู้ว่า เราควรบินอยู่ในบริเวณนี้ เพื่อทำความสูง ให้ได้มากที่สุด  เนื่องจากขณะอยู่บนที่สูง ซึ่งเป็นที่โล่ง เราไม่มีอะไรจะเปรียบเทียบกับตำแหน่งของเรา ว่าเราบินสูงขึ้นหรือต่ำลง

ร่มสำรอง(Reserve Parachute)
            มีทั้งแบบร่มกลม (Round Parachute) และร่มสามเหลี่ยม (Delta Parachute)  ร่มกลมจะบังคับทิศทางไม่ค่อยได้ แต่แบบสามเหลี่ยมซึ่งพัฒนาขึ้นมาทีหลัง
จะสามารถบังคับทิศทางได้ดี  ขนาดของร่มสำรอง ก็มีความสำคัญเช่นกัน ต้องเลือกใช้ขนาดให้เหมาะสมกับน้ำหนักขณะบิน เพื่อที่ร่มสำรองจะได้กางอย่างรวดเร็ว เวลาต้องการใช้งาน
ความรวดเร็วในการกางของร่มสำรอง จะอยู่ที่ประมาณ 2-4 วินาที หลังจากขว้างออกไป โดยขึ้นอยู่กับความเร็ว และน้ำหนักขณะบินด้วย และอัตราการร่วงหล่นของร่มสำรองต้องไม่มากเกินไป โดยปกติอัตราการร่วงหล่นของร่มสำรองจะอยู่ที่ประมาณ  4-6 เมตรต่อวินาที การติดตั้งร่มสำรองที่ Harness จะติดตั้งที่ด้านล่าง หรือไม่ก็ด้านบน บริเวณตักนักบิน เพื่อความรวดเร็วและสะดวกในการใช้งาน 
            ร่มสำรอง ควรนำออกมาพับใหม่ ทุกๆ 6 เดือน หากไม่ได้ใช้งาน เนื่องจากความชื้น อาจทำให้ผ้าร่มที่พับไว้ เกาะตัวกันแน่น ทำให้ร่มกางยากใช้เวลาในการกางนาน หรือไม่กาง
              
เครื่องวัดความเร็วลม(Win Meter)
        เพื่อวัดความเร็วลม ก่อนทำการออกบิน ว่าลมแรงเกินไปหรือไม่ หากลมมีการเปลี่ยนแปลงความเร็วมาก ภายในระยะเวลาเล็กน้อย
หรือลมมีความเร็วเกินกว่า 32 กิโลเมตรไม่ควรออกบิน  ความเร็วที่เหมาะสม จะอยู่ที่ประมาณ 15 – 25 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง

เครื่องบอกตำแหน่ง ความสูง อัตราการร่วงหล่น (GPS & Variometer)
           GPS รุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบัน เพียงเครื่องเดียว สามารถวัดได้  ทั้ง ตำแหน่งบนพื้นโลก ความเร็ว และทิศทางในการเดินทาง  ตลอดจนความสูง
ในการบินแข่งขัน นักบินทุกคนจะต้องมี GPS เพราะในการตรวจสอบผลการบินจะใช้ข้อมูลจาก GPS  ซึ่งบันทึกเส้นทางการบินไว้
 ถ้าเป็นในสมัยก่อน กรรมการ จะต้องคอยถ่ายรูปไว้ เมื่อนักบิน บินผ่านเส้นทางที่กำหนด

ถุงมือ (Glove)
        ป้องกัน สายร่มบาดมือ เพราะสายร่มใหม่ๆ จะมีความคม หากถูกกระชากแรงๆ อาจบาดมือได้

รองเท้าหุ้มข้อ (Flying Boots)
        เพื่อป้องกันเท้าและข้อเท้า หากมีการแลนดิ่ง ที่ผิดพลาด หรือมีการหกล้ม


เชือก หรืออุปกรณ์ สำหรับปีนต้นไม้
         บางครั้ง หากคุณสูญเสียความสูงบนยอดเขา หรือบริเวณที่เต็มไปด้วยต้นไม้  โดยไม่สามารถหาที่โล่งๆลงได้ ก็ต้องไปลงบนยอดไม้แทน
การมีเชือกสำหรับปีน ลงจากต้นไม้ ก็จะทำให้คุณสามารถลงจากต้นไม้ได้อย่างปลอดภัย

ถุงลม (WindSock)
        การสังเกตทิศทางลม ความเร็ว และการเปลี่ยนแปลงความเร็วลม เป็นสิ่งสำคัญเสมอ  ณ บริเวณ จุดเทคอ็อฟ และจุดแลนดิ่ง ต้องมี ถุงลมติดตั้งไว้
เพราะบางครั้ง ลมอาจมีการเปลี่ยนทิศทางไป การดูลมจากถุงลม จะทำให้เราไม่บินลงตามลม ซึ่งความเร็วลงพื้นจะสูง ก่อให้เกิดอันตรายได้
 
หมวก สำหรับใส่บิน
     เพื่อป้องกันการกระแทก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ จากการหกล้ม ในช่วงของการตั้งร่ม และออกตัว
หรือขณะทำการแลนดิ่ง อาจเป็นหมวกแบบเต็มหน้า มีกันคางด้วย หรือหมวกครึ่งใบ ก็ได้

วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

อุปกรณ์ ที่ใช้ในการบิน ร่มร่อน (ตอนที่ 1)

อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการบิน ร่มร่อน


ชุดที่นั่ง(Harness)
        ชุดที่นั่งสำหรับ ร่มร่อน แบ่งออกเป็น หลายรูปแบบ มีทั้งสำหรับบินคู่ สำหรับเด็ก สำหรับสุนัข(บินแทนเด็มกับเจ้าของ) และ Harness สำหรับบินแข่งโดยเฉพาะ ซึ่งจะต้านลมน้อย
โดยทำออกมาในรูปแบบนอนแทน   Harness ที่ดี ต้องมีอุปกรณ์ป้องกันการกระแทกที่ก้น ด้านหลังและด้านข้าง ส่วนกันกระแทกด้านหลัง จะเป็นโฟมกันกระแทก
ซึ่งมีความหนา ประมาณ 10-20 เซนติเมตร ผสมกับแผ่นเคฟล่า หรือโพลีเอสเตอร์ ถ้าเป็นรุ่นใหม่ๆ ก็จะมีการนำแอร์แบคมาผสมด้วย   ทำให้ป้องกันการกระแทกได้ดี
โดยที่น้ำหนักเบาลง  แต่ในช่วงที่เพิ่งเทคอ็อฟ  แอร์แบค อาจจะยังไม่ทำงานเต็มที่ เพราะต้องใช้ระยะเวลาหนึ่งให้ลมเข้าและพองตัวเต็มที่ก่อน
Harness ต้องมีที่ใส่ร่มสำรอง โดยอาจจะอยู่ด้านล่าง หรือด้านข้างก็ได้ เพื่อความสะดวกในการใช้งาน หากไม่มีที่ใส่จริงๆ ก็ใช้ ที่ใส่ร่มสำรอง แบบวางบนตัก
หรือที่เรียกว่า  Front Container แทน ซึ่งจะสะดวกในการติดตั้งและถอดออก  และ Harness ต้องมีที่ใส่สปีดบาร์ หรือสายเหยียบเพื่อเพิ่มความเร็วร่มด้วย
เมื่อเหยียบสปีดบาร์  จะทำให้ชายปีกด้านหน้าของร่มกดลงต่ำกว่าปกติ มุมปะทะลดลง ร่มจะมีความเร็วเพิ่มขึ้น แต่อัตราการสูญเสียความสูงก็จะมากตามไปด้วย

Harness จะแบ่งออกเป็น 3 แบบ หลักๆ คือ

       1. Standard หรือแบบ มาตรฐาน ที่เริ่มใช้กัน  โดยจะมี เข็มขัดรัดสาย อยู่ สามจุด  แบ่งออกเป็น หน้าอก หนึ่งจุด และ ที่ขา ข้างละ หนึ่งจุด
        2. Cross-braced  เข็มขัดรัดสาย สี่จุด แบบไขว้กันที่ หน้าอก สองจุด และรัดที่ขา อีก สองจุด
        3. ABS (Auto Balance System) ระบบใหม่ที่พัฒนา โดย Supair ทำให้ร่ม มีความเสถียรมากขึ้น ช่วยถ่ายเทน้ำหนักไปด้านที่ร่มไม่พับโดยอัตโนมัติ

จุดแขวน Harness กับ Carabiner ซึ่งนำไปแขวนกับร่ม ก็มีความสำคัญมากๆ  ต้องปรับระยะห่างระหว่างจุดแขวนทั้งสอง ได้  โดยปรับให้เหมาะสมกับประสิทธิภาพของร่ม
ร่มปกติ ค่าที่เหมาะสม จะอยู่ระหว่าง 38-42 เซนติเมตร ถ้าเป็นร่มแข่งซึ่งการการตอบสนองที่รวดเร็ว ก็จะปรับระยะห่างให้มากขึ้น  เวลาเจอเทอร์มอล หรือเวทชิต จะรู้สึกถึงการตอบสนองที่รวดเร็ว แค่ร่มจะไม่เสถียรหรือไม่ค่อยนิ่ง ถ้าปรับไว้แคบร่มก็จะนิ่งไม่ค่อยแกว่ง แต่อาจทวิสได้ง่ายเช่นกัน ถ้าปรับไว้แคบเกินไป    นอกจากปรับความกว้างของระยะห่างระหว่าง Carabiner ได้แล้ว  ยังสามารถปรับระยะเอนนอนได้ด้วย เพื่อความสบายขณะบินอยู่ ทำให้สามารถบินได้อย่างผ่อนคลาย

             ทุกครั้ง ก่อนที่จะเกี่ยวร่มเข้ากับ  ชุดที่นั่ง ต้องตรวจสอบให้ดีก่อน ว่ามีการรัดเข็มขัดรัดสายที่ขา เรียบร้อยแล้วหรือยัง เพราะหากคุณเทคอ็อฟออกไป โดยไม่ได้รัดเข็มขัด
คุณอาจหล่นออกมาจากชุดที่นั่งได้ ณ ต่างประเทศ มีคนหล่นลงมาเสียชีวิตหลายคนแล้ว ด้วยความรีบร้อนออกบิน โดยลืมรัดเข็มขัดก่อน

ห่วงสำหรับล็อดสายร่มติดกับที่นั่ง (Carabiner)
        มีหลายรูปแบบ ทั้งแบบกดแล้วคลายล็อดโดยอัตโนมัติ หรือ หรือแบบดึงลงแล้วหมุนเพื่อคลายล็อก  มีความทนทานสูง สามารถรับน้ำหนัก ได้หลายตัน
ต้องมีการตรวจตราสภาพของ Carabiner อยู่เสมอ หากมีรายร้าวเพียงเล็กน้อย ต้องรีบเปลี่ยนทันที

วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ร่มร่อน ตอนที่ 2 (ร่มร่อน บินได้อย่างไร)

ด้วยลักษณะปีกของ ร่มร่อน ที่มี รูปร่าง คล้ายปีกของเครื่องบิน
เมื่อมีอากาศไหลผ่านปีกของร่มร่อน จึงก่อให้เกิดแรงยก


การที่จะมีอากาศไหลผ่านปีกของร่มร่อนได้ ก็ต้องอาศัยลมให้พัดผ่านปีก
หรือไม่ก็ต้องนำปีก วิ่งผ่านอากาศ ออกไป


ถ้าไม่มีลม หรือปีกไม่มีการเคลื่อนไหวผ่านอากาศ ร่มร่อนก็ไม่มีแรงยก
เพราะร่มร่อน ไม่มีเครื่องยนต์ คอยขับเคลื่อนไปข้างหน้า เหมือนเครื่องบิน
การเล่นร่มร่อน จึงต้องอาศัย การลากให้ร่มไหลผ่านอากาศจนมีแรงยก
ซึ่งอาจเป็นการลากด้วยรถ หรือเรือ เพื่อทำความสูง แล้วร่อนต่อไป


แต่วิธีทำความสูงที่ง่ายสุดคือ ขึ้นไปบนยอดเขาสูงๆ แล้วนำร่มร่อน ร่อนออกมาก




ถึงแม้ ร่มร่อน จะร่อน ออกไปได้ไกล  แต่ความสูงของร่มร่อน ก็จะสูญเสียไปเรื่อยๆ
แล้วจะทำอย่างไร ให้ร่มรักษาระดับไว้ หรือเพิ่มความสูงขึ้นได้ โดยที่ร่มยังร่อนต่อไปได้อีก

ต้องหา ลิฟท์แบนด์ หรือลมยก บริเวณหน้าภูเขา และ แหล่งลมยกอื่นๆ ทำความสูง

เนื่องจาก ร่มร่อน จะมี ความเร็ว ในการร่วงหล่น หรือสูญเสียความสูง อยู่ตลอดเวลา
แม้ขณะ อยู่ ใน ลิฟท์แบนด์ หรือ เทอร์มอล ก็ตาม

ถ้าแรงยก ของลิฟท์แบนด์ หรือเทอร์มอล  มีค่ามากกว่า ความเร็ว ในการร่วงหล่น ของร่ม
เราก็จะเห็นร่มร่อน ลอยสูงขึ้นไปเรื่อยๆ


ลิฟท์แบนด์ หรือลมยก ที่เกิดบริเวณหน้าภูเขา เกิดจากการที่ ลมพัดมาปะทะภูเขา
แต่ภูเขาจะกั้นลมไว้ ลมจึงไหลขึ้นตามความลาดเอียงของภูเขา เพื่อไหลผ่านพ้นภูเขาไป


โดยระดับความสูงที่ ร่มร่อน จะทำได้ ก็จะไม่สูงกว่าภูเขาไม่มากนัก
เมื่อลมพัดผ่านไปยังด้านหลังภูเขา ก็จะไหลลงและเป็นลมแปรปรวน ซึ่งอันตรายต่อการบิน

ถ้าเราบินตรงไปข้างหน้า จนหลุดออกจากบริเวณลมยกหน้าภูเขา
ร่มร่อน ก็จะสูญเสียความสูงไปเรื่อยๆ จนถึงพื้น
ถ้าจะร่อนอยู่ในอากาศให้นาน ก็ต้องบินกลับมาหน้าภูเขาเพื่ออาศัยลมยก ทำความสูงอีกครี้ง

ลมยกที่สำัคัญที่สุด ในการร่อนเดินทางไกลคือ ลมยกที่เกิดจากความร้อน หรือเทอร์มอล
ซึ่งเกิดจาก กลุ่มอากาศร้อน ที่ใหลจากที่ต่ำขึ้นที่สูง


ลมยกชนิดนี้ จะมีความสูงจนถึงก้อนเมฆ เพราะมันเป็นจุดก่อให้เกิดเมฆส่วนใหญ่
แต่จะเป็นลมยกในบริเวณแคบๆ คือ ณ ตำแหน่งพื้นดิน สูงขึ้นไป จนถึงเมฆแต่ละก้อน
และไม่ได้มีอยู่ตลอดเวลา แต่จะเกิดเป็นช่วงๆ  ซึ่งใช้ระยะเวลา ประมาณ 15-20 นาที และสลายไป

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ร่มร่อน ตอนที่ 1 (ร่มร่อน คืออะไร)

ร่มร่อน เป็นกีฬาการบินชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถร่อนจากพื้น  ขึ้นสู่อากาศ
โดยไม่ต้องใช้เครื่องยนต์กลไกใดๆ อาศัยเพียงลมธรรมชาติ พาโบยบินขึ้นสู่ท้องฟ้า




ซึ่งระยะเวลาที่ ร่มร่อน จะร่อนอยู่ได้ ก็ขึ้นอยู่กับ สถาวะอากาศ และความสามารถของนักบิน
หากอากาศดีหน่อย ก็สามารถ ที่จะร่อนอยู่ได้ทั้งวัน จนไต่ระดับ ไปถึงก้อนเมฆ
และบินเดินทาง จากก้อนเมฆหนึ่ง ไปยังก้อนเมฆหนึ่ง ได้ระยะทาง เป็นร้อยฯไมล์




อุปกรณ์หลักของ ร่มร่อน  คือ ปีก(Wing) ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ
ให้สร้างแรงยก เมื่อมีลมพัดผ่านด้วยความเร็วที่เพียงพอ
นักบิน จะนั่งอยู่ในชุดที่นั่ง (Harness) ที่นั่งสบายเหมือนกับนั่งโซฟา
ที่นั่งจะถูกแขวนโดย สายเส้นใหญ่ 2 เส้น(Risers) ที่ต่อมาจากสายร่มเส้นเล็กฯมากมาย
ซึ่งโยงมาจากปีกด้านซ้าย และปีกด้านขวา ของ ร่มร่อน

มี Carabiners หรือตะขอตัวใหญ่ ที่ใช้เชื่อมต่อชุดที่นั่ง กับ  ไรเซอร์ ของ ร่มร่อน
คาราไบเนอร์ จะมีความแข็งแรงทนทาน เปิดปิดและล็อคได้ ในเวลาที่รวดเร็ว

ส่วนการควบคุมความเร็วและบังคับทิศทางการบินของ ร่มร่อน จะทำผ่านสายคอนโทรล
หรือสายเบรค ซ้ายและขวา 2 เส้น ที่ต่อมาจากชายปีกร่ม ด้านหลัง

อุปกรณ์ทั้งหมด สามารถ บรรจุ อยู่ในเป้สะพายหลัง ใบใหญ่ใบเดียว
จึงทำให้ มีความสะดวกในการเคลื่อนย้าย และเดินทาง


ร่มร่อน  จะมีแตกต่างกับ ร่มที่ทหารใช้กระโดด

เพราะร่มร่อนออกแบบให้บินสูงขึ้น
ส่วนร่มกระโดด(Parachutes) ใช้เพื่อลดความเร็ว ที่จะลงสู่พื้น

ร่มร่อน  จะคล้ายกับร่มที่นักดิ่งพสุธา ใช้ร่อนลงสู่พื้น (SkyDiving)
แต่ ก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่มาก
เพราะจุดประสงค์หลักของร่มร่อน ใช้บินจากพื้นสู่ฟ้า
ร่มร่อน ต้องกางอยู่บนหัวเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่เท้าจะพ้นพื้น ออกสู่อากาศ
วัสดุที่ใช้ จึงต้องมีความเบา ไม่ต้องรองรับแรงกระชากอย่างรุนแรง
มีจำนวนช่องรับลมจำนวนมาก แต่เป็นช่องเล็กฯ เพื่อให้มีอัตราการร่อนที่ดีกว่า

ร่มร่อน (Paragliding)


ร่มร่อน หรือ พาราไกลดิ่ง (Paragliding)
ร่มร่อน  จัดเป็นกีฬาการบิน ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีการเล่นในเมืองไทย นานแล้ว
แต่ยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร เพราะสถานที่เล่นมีจำกัด ต้องไปเล่นบนภูเขา

ถ้าพูดถึงร่ม  ทุกคน มักจะถึงร่มที่ทหารใช้กระโดด ออกจากเครื่องบิน
ซึ่งร่มประเภคนี้ เราจะเรียกว่า พาราชู๊ต (parachutes)

























Parachute (Base Jumping, Skydiving)
ลักษณะ ของร่ม รุ่นแรกๆ จะมีรูปแบบเป็นทรงกลม (Round  Parachutes)
โดย "Parachute" มาจากภาษา ฝรั่งเศส
ประกอบด้วย คำว่า "para" แปลว่าห่อหุ้มป้องกัน
และ "chute" ซึ่งแปลว่า การร่วงหล่น รวมกัน เป็น Parachute
หมายถึงอุปกรณ์ช่วยป้องกันการร่วงหล่น
ไม่ได้ออกแบบไว้เพื่อการบิน
แต่มีจุดประสงค์เพื่อ ลดแรงกระแทกในการลงสู่พื้น                                                             

พาราชู๊ต ถูกนำไปใช้ ในการขนส่ง ในพื้นที่เสี่ยงภัย ที่เข้าถึงลำบาก
โดยปล่อยออกมาจากเครื่องบิน
หรือนำมาใช้กับคน ในทางทหาร ตลอดจนเพื่อการกีฬา
ซึ่งเรียกว่า SkyDiving

ต่อมา ในปี 1966 Domina Jalbert  ก็ได้พัฒนา เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขึ้น
เรียกว่า  Ram Air Parachutes ซึ่งสามารถเพิ่มความเร็ว
และบังคับทิศทางได้ดี กว่าแบบทรงกลมมาก
ทำให้มีการนำมาใช้ในการกีฬาอย่างแพร่หลาย

Base Jumping
B.A.S.E. ย่อมาจาก Building(ตึก สิ่งก่อสร้างต่างฯ), Antennas (เสาอากาศ),
Spans(Bridges สะพาน), Earth(Cliff หน้าผา)

เป็นกีฬา ที่พัฒนา มาจาก Skydiving อีกที่ โดยเริ่มตั้งแต่ปี 1960
เป็นการกระโดดออกมาจากสิ่งก่อสร้าง หรือหน้าผา พร้อมกับ Parachute

ร่มหรือ Parcachute ที่ใช้จะต้องสามารถกางได้อย่างรวดเร็ว
เพราะความสูงส่วนใหญ่ จะไม่เกิน 60 เมตร (200 ฟุต)
ถ้าร่มหลักไม่ทำงาน โอกาสที่ร่มสำรองจะกางทันมีน้อยมาก
นักกระโดด Base-Jump ส่วนใหญ่ จึงไม่พกร่มสำรอง เพราะถึงพกไปก็กางไม่ทัน