ชุดที่นั่งสำหรับ ร่มร่อน แบ่งออกเป็น หลายรูปแบบ มีทั้งสำหรับบินคู่ สำหรับเด็ก สำหรับสุนัข(บินแทนเด็มกับเจ้าของ) และ Harness สำหรับบินแข่งโดยเฉพาะ ซึ่งจะต้านลมน้อย
โดยทำออกมาในรูปแบบนอนแทน Harness ที่ดี ต้องมีอุปกรณ์ป้องกันการกระแทกที่ก้น ด้านหลังและด้านข้าง ส่วนกันกระแทกด้านหลัง จะเป็นโฟมกันกระแทก
ซึ่งมีความหนา ประมาณ 10-20 เซนติเมตร ผสมกับแผ่นเคฟล่า หรือโพลีเอสเตอร์ ถ้าเป็นรุ่นใหม่ๆ ก็จะมีการนำแอร์แบคมาผสมด้วย ทำให้ป้องกันการกระแทกได้ดี
โดยที่น้ำหนักเบาลง แต่ในช่วงที่เพิ่งเทคอ็อฟ แอร์แบค อาจจะยังไม่ทำงานเต็มที่ เพราะต้องใช้ระยะเวลาหนึ่งให้ลมเข้าและพองตัวเต็มที่ก่อน
Harness ต้องมีที่ใส่ร่มสำรอง โดยอาจจะอยู่ด้านล่าง หรือด้านข้างก็ได้ เพื่อความสะดวกในการใช้งาน หากไม่มีที่ใส่จริงๆ ก็ใช้ ที่ใส่ร่มสำรอง แบบวางบนตัก
หรือที่เรียกว่า Front Container แทน ซึ่งจะสะดวกในการติดตั้งและถอดออก และ Harness ต้องมีที่ใส่สปีดบาร์ หรือสายเหยียบเพื่อเพิ่มความเร็วร่มด้วย
เมื่อเหยียบสปีดบาร์ จะทำให้ชายปีกด้านหน้าของร่มกดลงต่ำกว่าปกติ มุมปะทะลดลง ร่มจะมีความเร็วเพิ่มขึ้น แต่อัตราการสูญเสียความสูงก็จะมากตามไปด้วย
Harness จะแบ่งออกเป็น 3 แบบ หลักๆ คือ
1. Standard หรือแบบ มาตรฐาน ที่เริ่มใช้กัน โดยจะมี เข็มขัดรัดสาย อยู่ สามจุด แบ่งออกเป็น หน้าอก หนึ่งจุด และ ที่ขา ข้างละ หนึ่งจุด
2. Cross-braced เข็มขัดรัดสาย สี่จุด แบบไขว้กันที่ หน้าอก สองจุด และรัดที่ขา อีก สองจุด
3. ABS (Auto Balance System) ระบบใหม่ที่พัฒนา โดย Supair ทำให้ร่ม มีความเสถียรมากขึ้น ช่วยถ่ายเทน้ำหนักไปด้านที่ร่มไม่พับโดยอัตโนมัติ
จุดแขวน Harness กับ Carabiner ซึ่งนำไปแขวนกับร่ม ก็มีความสำคัญมากๆ ต้องปรับระยะห่างระหว่างจุดแขวนทั้งสอง ได้ โดยปรับให้เหมาะสมกับประสิทธิภาพของร่ม
ร่มปกติ ค่าที่เหมาะสม จะอยู่ระหว่าง 38-42 เซนติเมตร ถ้าเป็นร่มแข่งซึ่งการการตอบสนองที่รวดเร็ว ก็จะปรับระยะห่างให้มากขึ้น เวลาเจอเทอร์มอล หรือเวทชิต จะรู้สึกถึงการตอบสนองที่รวดเร็ว แค่ร่มจะไม่เสถียรหรือไม่ค่อยนิ่ง ถ้าปรับไว้แคบร่มก็จะนิ่งไม่ค่อยแกว่ง แต่อาจทวิสได้ง่ายเช่นกัน ถ้าปรับไว้แคบเกินไป นอกจากปรับความกว้างของระยะห่างระหว่าง Carabiner ได้แล้ว ยังสามารถปรับระยะเอนนอนได้ด้วย เพื่อความสบายขณะบินอยู่ ทำให้สามารถบินได้อย่างผ่อนคลาย
ทุกครั้ง ก่อนที่จะเกี่ยวร่มเข้ากับ ชุดที่นั่ง ต้องตรวจสอบให้ดีก่อน ว่ามีการรัดเข็มขัดรัดสายที่ขา เรียบร้อยแล้วหรือยัง เพราะหากคุณเทคอ็อฟออกไป โดยไม่ได้รัดเข็มขัด
คุณอาจหล่นออกมาจากชุดที่นั่งได้ ณ ต่างประเทศ มีคนหล่นลงมาเสียชีวิตหลายคนแล้ว ด้วยความรีบร้อนออกบิน โดยลืมรัดเข็มขัดก่อน
ห่วงสำหรับล็อดสายร่มติดกับที่นั่ง (Carabiner)
มีหลายรูปแบบ ทั้งแบบกดแล้วคลายล็อดโดยอัตโนมัติ หรือ หรือแบบดึงลงแล้วหมุนเพื่อคลายล็อก มีความทนทานสูง สามารถรับน้ำหนัก ได้หลายตัน
ต้องมีการตรวจตราสภาพของ Carabiner อยู่เสมอ หากมีรายร้าวเพียงเล็กน้อย ต้องรีบเปลี่ยนทันที
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น