วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การดูสเป็ค ของ ร่มร่อน

การดู สเป็คของร่มครับ เพื่อรู้ถึง ค่าต่างๆที่อธิบายอยู่ในคู่มือของร่ม

Year -  ปีที่ผลิต (ออกแบบ)
ร่มรุ่นใหม่ๆ ย่อมดีกว่ารุ่นเก่าเป็นแน่นอน เพราะการออกแบบ การพัฒนา และวัสดุที่เลือกใช้ มีการปรับปรุงสูงขึ้น
ควรเลือกซื้อร่ม ทีมีการผลิต(ออกแบบ) ภายในสามปี หรือห้าปีล่าสุด เป็นอย่างมาก

Flat Area -  พื้นที่ปีกของร่ม(วัดขนาดผ้า เป็นตารางเมตร)  ค่านี้ จะใช้ในการบอกขนาดหรือไซส์ของร่ม
เช่น ไซส์  28 หมายถึงมีพื้นที่ปีก 28 ตารางเมตร

Flat Span - ความกว้างของร่ม โดนวัดระยะห่างระหว่างปลายปีกด้านซ้ายและขวา

Flat Ratio -  อัตราส่วนของความกว้างและพื้นที่ปีก โดยคิดจาก ความกว้างยกกำลังสอง หารด้วย พื้นที่ปีก
ค่า Ratio ของร่ม โดยปกติ จะอยู่ที่ 4-6 ร่มที่มีค่า Ratio สูง จะเป็นร่มที่เพรียว มีความว่องไว
และมีอัตราการยกที่สูง  ณ ปัจจุบันร่มแข่ง บางตัว มีค่า Ratio ถึง 8  ทำให้มี ความเร็ว และอัตราการร่อน ที่สูงมาก แต่ก็อันตรายเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

Project Area – พื้นที่เงาร่ม

Project Span - ความกว้างของเงาร่ม

Project Ratio - อัตราส่วน ความกว้างของเงากำลังสอง หารด้วย พื้นที่เงา

Flattening - เปอร์เซนต์ ของขนาดพื้นที่ผ้าร่ม ที่ลดลง เมื่อเป็นขนาดพื้นที่เงา
ร่มที่มีความโค้งของปีกเยอะ ก็จะมีค่า Flattening ที่มาก และทำให้ร่ม มีความเสถียรสูงขึ้น

Uper-Surface -  วัสดุ ที่ใช้ทำผ้าร่ม ชั้นบน
เป็นผ้าร่มที่มีความทนทาน ทำจาก ริปสต็อบ-ไนลอน ทนแสงยูวี ได้ดี  มี 2 ชนิดหลักๆ คือ Gelvenor silicone-coated จาก แอฟริกาใต้ และ Porcher Marine SKYTEX จากฝรั่งเศส
Gelvenor ที่ใช้อยู่ทั่วไป มี 2 แบบ คือ LCN 066 มีน้ำหนักประมาณ 55 กรัม/ตารางเมตร
และ LCN 0517  ขนาด 45 กรัม/ตารางเมตร
ส่วน Porcher  ก็นิยมใช้อยู่ 2 ขนาดเช่นกัน คือ SKYTEX  S9017 มีน้ำหนักประมาณ 40 กรัม/ตารางเมตร 
และ  SKYTEX  S9092 ขนาด 45 กรัม/ตารางเมตร

Under-Surface -  วัสดุ ที่ใช้ทำผ้าร่ม ชั้นล่าง  อาจเป็นแบบเดียวกับ ผ้าร่ม ชั้นบน
หรือใช้วัสดุที่มีความบางและน้ำหนักน้อยกว่าผ้าร่มชั้นบน เพื่อลดน้ำหนัก และทำให้การตั้งร่มง่ายขึ้น
ผ้าร่มชั้นล่าง จะเป็นส่วนที่ไม่ค่อยได้สัมผัสพื้น และโดนแสงยูวี เฉพาะตอนวางร่มก่อนเทคอ็อฟเท่านั้น

จากกราฟ ข้างบน เป็นการทดสอบผ้าร่มตัวใหม่ Skytext E85A เทียบกับผ้าร่มชนิดเก่า
โดยการนำผ้าร่มไปปั่น แล้ววัดค่าการไหลของอากาศ ที่ไหลผ่านผ้าร่ม หลังจากการปั่น ผ่านไปช่วงเวลาหนึ่ง
ผ้าร่มที่ดี จะต้องยอมให้อากาศไหลผ่านได้น้อยที่สุดแม้จะใช้ไปนาน นั้นก็คือยังอุ้มอากาศได้ดีอยู่

Lines - สายร่ม  ทำจาก เคฟล่า(อารามิด ไฟเบอร์) หรือ สเปคตร้า(ไดนีม่า) อาจมีปลอกหุ้มอีกที
โดยเปลือกหุ้มไม่ได้ช่วยเพิ่มความแข็งแรงแต่อย่างใด แต่เพื่อป้องกันสายจากการขัดสี และแสงยูวี
เปลือกหุ้มอาจทำเป็นสี แต่ละสี สำหรับสายแต่ละชุด  เพื่อง่ายแก่การสังเกต
เช่น A สีแดง B สีน้ำเงิน C สีเหลือง D สีเขียว
นอกจากนี้สายที่ใช้ ยังแบ่งออกเป็นหลายขนาด ตั้งแต่ 0.9 ถึง 2.1 มิลลิเมตร
สายชั้นล่างซึ่งมีจำนวนสายน้อย จะมีขนาดใหญ่สุด
ถัดขึ้นไปซึ่งมีจำนวนสายมากขึ้น ก็จะใช้สายขนาดเล็กลงตามลำดับ

Risers - มีกี่ไรเซอร์และแต่ละไรเซอร์มีกี่สาย  เช่น
4(3A/3B/4C/2D)  หมายถึงมี 4 ไรเซอร์ ชุดA มี3เส้น ชุดB มี3เส้น ชุดC มี4เส้น และ ชุดD มี2เส้น
5(2A+1A'/3B/4C/2D)  หมายถึงมี 5 ไรเซอร์ โดยแบ่งไรเซอร์ชุดA ออกเป็น Aใหญ่ 2 เส้น
และ Aเล็ก 1 เส้น สำหรับทำบิกเอียร์
การรับน้ำหนักของชุดไรเซอร์ แต่ละเส้น จะมีค่าไม่เท่ากัน โดยแบ่งเป็น
A: 36% ,  B: 36%  , C: 18%  , D: 10%
สาย A และ B ต้องสามารถ รับน้ำหนัก ได้มากกว่า 8 เท่าของน้ำหนักสูงสุด
เช่น ร่ม รับน้ำหนักได้สูงสุด 105 kg สายที่ไรเซอร์ A-B ต้องรับน้ำหนักได้ 105*8 = 840 kg
ฉนั้นเมื่อ  ไรเซอร์A มี3เส้น และ  ไรซอร์B มี3เส้น รวม 2 ด้าน เป็น 12 เส้น
สาย A หรือ B  1 เส้น ต้องสามารถ รับน้ำหนักได้อย่างน้อย  840/12 kg   =  70 kg
สำหรับ สาย C และ D ต้องสามารถ รับน้ำหนัก ได้มากกว่า 6 เท่าของน้ำหนักสูงสุด

ถ้าเป็นร่มระบบรีเฟล็ก(สำหรับบินพารามอเตอร์) จุดศูนย์ถ่วง จะย้ายมาอยู่ด้านหน้า
ทำให้ร่ม มีความเร็วสูงขึ้น และมีแรงต้านร่มพับมากขึ้น แต่ก็ทำให้ไรเซอร์ A รับน้ำหนักมากกว่าไรเซอร์อื่นๆด้วย
A: 68% ,  B: 12% , C: 12 % , D: 8%

Wing-Weight - น้ำหนักร่ม โดยบอกเป็นกิโลกรัม  น้ำหนักร่มปกติแล้ว จะอยู่ที่ 5-7 กิโลกรัม
ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนเซล จำนวนสาย และวัสดุ ที่ใช้ในการผลิตร่ม

Box-Cell-Closed  -  จำนวนจุดต่อสายร่ม-จำนวนเซลทั้งหมด-จำนวนเซลที่ปิด
หากมีจำนวนจุดต่อสายเยอะ ร่มก็จะมีการบาลานซ์น้ำหนักได้ดี มีความแข็งแรงขึ้น
แต่จะมีการต้านลม จากจำนวนสายที่มาก
จึงต้องนำสายมารวมกันเป็นจุดแล้วต่อด้วยสายเส้นที่ใหญ่เพียงเส้นเดียว เพื่อลดจำนวนสายลงมาเป็นชั้นๆ

Accelerator - ระยะความยาวของตัวเร่งความเร็ว หรือ สปีดบาร์

Trims – ทริมสำหรับเปิดปิด เพื่อเพิ่มลด มุมปะทะของร่ม อันมีผลต่อความเร็วและความเสถียรของร่ม

Naked-Pilot-Weight – น้ำหนักนักบินที่เหมาะสม


In-Flight-Weight (PTV) – น้ำหนักโดยรวมอุปกรณ์ทั้งหมดขณะบิน
โดยจะแบ่งเป็น Minimum(น้ำหนักต่ำสุด) และ Maximum(น้ำหนักสูงสุด)
หากนักบิน บินอยู่ในระหว่าง น้ำหนักต่ำสุด ถึง น้ำหนักสูงสุด ก็จะบินได้อย่างปลอดภัย
แต่ค่าน้ำหนักที่เหมาะสมที่สุด น่าจะอยู่ที่ ประมาณ สองในสาม ของช่วงน้ำหนัก
เช่น Minimum = 70 และ Maximum = 90
ค่าสองในสาม ของ 70 ถึง 90  =  70 + (90-70)*2/3   =  83.4 Kg
หากนักบิน บินต่ำกว่า Minimum ร่มก็จะเกิดการพับได้ง่าย หากอากาศไม่ดี
หรือลมมีความแปรปรวน เพราะน้ำหนักถ่วงมีน้อย
และหากนักบิน บินสูงกว่า Maximum
ร่มก็จะมีความเร็ว และอัตราการสูญเสียความสูงที่มากขึ้น
ถ้ามากเกินไป ก็ก่อให้เกิดอันตรายได้ง่ายเช่นกัน

Wing-Load  อัตราการรับน้ำหนักของร่ม ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร
โดยคำนวณจาก น้ำหนักต่ำสุด บวกน้ำหนักสูงสุด แล้วหารด้วย 2
จะได้น้ำหนักโดยเฉลี่ย จากนั้นหารด้วย จำนวนพื้นที่ผ้าร่ม

Acceler/Maximum/Minimum - ความเร็วของร่มตามสป็ต
Accelerator =  ความเร็วสูงสุดขณะเหยียบสปีดบาร์ และไม่มีการรั้งเบรค
Maximum  = ความเร็วขณะปล่อยสายคอนโทรล(ยังไม่เหยียบสปีดบาร์)
สำหรับร่ม DHV ต่ำ ซึ่งมีความปลอดภัยสูง การบินที่ Max Speed (ปล่อยมือ)จะบินได้อย่างปลอดภัย
แต่ถ้าเป็นร่ม DHV สูงๆ ต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น เพราะร่มอาจพับได้ง่าย
Minimum = ความเร็วต่ำสุด จากการทำให้ร่มช้าลง แล้วร่มยังไม่เข้าสภาวะสต็อล
หากดึงเบรคมากไปกว่านี้ ความเร็วจะต่ำกว่า ความเร็วสต็อล ทำให้ร่มสต็อลได้

Best-Sink-Rate
อัตราการสูญเสียความสูงที่ดีที่สุด
เช่น 1 เมตร ต่อ วินาที  หากเราบินอยู่ในเทอร์มอล ที่มีอัตราการยก 4 เมตร ต่อวินาที
เราก็สามารถเพิ่มความสูงจากพื้น ได้ถึง  4(ยก) - 1(ตก)  =  3 เมตร ต่อ วินาที

Best-Glide  ช่วงความเร็ว และ ซิงค์เรท  ที่ให้อัตราการร่อน หรือระยะเดินทาง ดีที่สุด
เช่น 1.2 m/s  > 39 km/h   หมายถึงบินที่ ความเร็ว 39 km/hr  
จะมีการสูญเสียความสูง 1.2 m/s แต่จะทำระยะทางได้ไกลสุด

Best Glide Ratio (L/D)
อัตราการ ร่อนที่ดีที่สุด โดยคิดเป็น อัตราส่วนของ ระยะทางที่เดินทางได้ กับความสูงที่สูญเสียไป
เช่น อัตราการร่อน เท่ากับ 10  หมายถึง  เดินทาง ไปได้ ระยะทาง 10 km จะสูญเสียระดับหรือความสูง 1 km


ณ. ปัจจุบัน ร่มรุ่นใหม่ๆ มีการพัฒนา ให้มีความปลอดภัยสูงขึ้น
พร้อมๆ กับประสิทธิภาพในการร่อน ที่สูงขึ้นด้วย

อย่าง เช่น Gradient Golden 2 หรือ  Nova Mamboo ซึ่งเป็นเพียงร่ม DHV 1-2
แต่กลับมีประสิทธิภาพในการร่อน สูงกว่า ร่ม DHV 2  หลายๆ ตัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น